วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Express :โปรแกรมบัญชี Express การกำหนดฟอร์มให้ออกหลายสำเนา

                    การกำหนดฟอร์มให้มีหลายๆสำเนานั้นเราสามารถทำได้ ที่ตัวNew report ตัวนี้นะคะซึ่งตัวอย่างที่กัสจะเอามาให้ดูวันนี้จะเป็นตัวอย่างการทำฟอร์มที่มีทั้งหมด 4 สำเนานะคะ

เริ่มแรกก็เปิดการแก่ไขแบบฟอรมที่เราจะทำขึ้นมาก่อนขั้นตอนนี้กัสขอข้ามนะคะ มีในโพสต์ก่อนหน้านี้แล้ว  พอเข้ามาที่หน้าแก้ไขแบบฟอร์ม ก็จะได้ดังหน้าต่อนี้ค่ะ การกหนดค่าต่างๆ ให้ทำตามในวงกลมสีแดงเลยนะคะ



               ในวงกลมสีแดงนั้นเป็นส่วนที่เราจะต้องเข้าไปปรับแก้นะคะ เช่น การปรับค่าเฉพาะตัวของฟอร์มว่า จำนวนชุดนั้น มี 4 ชุด        


            ในวงกลมสีแดงนั้นเป็นส่วนที่เราจะต้องเข้าไปปรับแก้นะคะ เช่น การปรับค่าเฉพาะตัวของชื่อฟอร์มนั้นๆเช่นฟอร์มนี้มี 4 ชุด เช่น 1.ต้นฉบับ-ลูกค้า  2.สำเนา-ลูกค้า  3.สำเนา-บัญชี  4.สำเนา-การเงิน


          เอาล่ะค่ะ ทีนี้เพื่อนๆลองเข้าไปปรับแก้ดูนะคะว่่าเราจะสามารถนำไปประยุกต์เข้างานของเพื่อนๆดูนะคะ  สู้  สู้ สู้ !!!! คร่า
Read »

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โปรแกรมบัญชีExpress : ตัวอย่างการสร้างฟอร์มใบกำกับภาษีแบบหย่อนฟอร์ม

โปรแกรมบัญชีExpress : ตัวอย่างการสร้างฟอร์มใบกำกับภาษี

         วันนี้กัสเอาตัวอย่างการทำฟอร์มใบกำกับภาษี ในรูปแบบที่กัสใช้อยู่เป็นประจำมาให้เพื่อนๆในบล็อคดูนะคะ เผื่อว่าพอจะเป็นไอเดียให้ใครได้บ้าง
หน้า การเงิน >  รับเงิน > รับชำระหนี้

ในหน้านี้ กัสต้องการ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีที่แสดงรายละเอียดทั้งหมดเสมือนใบแจ้งนี้
  
            ดังนั้นจึงต้องสร้างฟอร์ใบกำกับภาษีที่ Icon รูปเครื่องปริ้นสีแดงค่ะ แล้วทำการสร้างฟอร์มใหม่ขึ้นมาเลยนะคะ อันนี้ของกัสข้าามมาที่การเข้าไปแก้ไขฟิวล์ หรือตัวแปรต่างๆเลย ดังนั้นกัสเลือกหัวข้อ "แก้ไขบททดสอบ"  ค่ะ

           โปรแกรมบัญชีExpress จะถามเราว่าให้เลือกฟอรมที่เราจะแก้ไข ส่วนของกัสจะเป็น ฟอร์มที่ 1 ฟอร์มแบบใหม่ (ปรับฟอนต์ได้) ตัวนี้นะคะ ตามภาพด้านล่างนี้เลยค่ะ

และหน้านี้เมื่อตอบ "ตกลง" ก็จะเข้าไปสู่หน้าแก้ไขแบบฟอร์ม ดังรูปข้างล่างนะคะ


ในส่วนของโครสร้าง หลักการทำงานของส่วนต่างๆ กัสเคยได้แนะนำไปแล้วในโพสต์ก่อนหน้านะคะ จะไม่ขออธิบายซ้ำอีก 

              แต่โพสต์นี้จะอธิบายลงลึกในบางส่วนที่จำเป็นต้องใช้และควรที่จะรู้ไว้นะคะ


ส่วนแรก คือ ส่วนที่กัส วงแดงๆไว้ จะสัมพันธ์กันระหว่างด้านซ้ายและขวา 

ด้านซ้ายคือส่วนที่เอากรุ๊ปข้อมูลในรายงานหรือฟอร์มนะคะ เช่นในตัวอย่างคือส่วนที่ชื่อ Ih31 ส่วนข้อมูลที่จะนำมาแสดงในส่วนนี้นั้นก็จะเอามาจาก table ดังรายชื่อที่อยู่ในกรอบสีแดงด้านขวามือค่ะ ในตัวอย่างคือ tableชื่อ STRCD ซึ่งก็คือรายการสินค้าที่อยู่ในบิลนั้นๆ เชื่อมโยงกับ Table ชื่อ ARTRNRM โดยใช้ Filed ชื่อ RDOCNUM  ดังนั้นในส่วนนี้ข้อมูลที่จะนำมาแสดงก็คือข้อมูลที่อยู่ใน Table ARTRNRM ค่ะ

และเมื่อกำหนดค่าดังข้างต้นแล้วจะได้ฟอร์มตามตัวอย่างข้างล่างนี้ค่ะ









Read »

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมบัญชี : Express ส่วนประกอบต่างๆของการแก้ไขแบบทดสอบ

ในโพสต์นี้ กัส จะขออธิบายส่วนประกอบต่างๆของหน้าจอการแก้ไขแบบทดสอบสำหรับฟอร์มแบบใหม่(ปรับฟ้อนต์ได้)ซึ่งหน้าจอจะเป็นดังนี้

   หมายเลข 1 ในกรอบสีแดง  คือ เทเบิล (table) ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแบบฟอร์มนี้เช่นในแบบฟอร์มนี้จะประกอบด้วย
               Viriable = ตารางตัวแปรที่สร้างขึ้นไว้เพื่อใช้กับแบบฟอร์มนี้
               POPR = ตารางใบสั่งซื้อ
               POPRIT = ตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ
               ARTRNRM = ตารางเก็บคำอธิบายที่กี่ยวข้องกับตารางใบสั่งซื้อ
               APMAS = ตารางรายละเอียดเจ้าหนี้
               STMAS = ตารางรายละเอียดสินค้า
               STLOC = ตารางเก็บรายละเอียดที่เก็บสินค้า เช่น ชั้นที่,ล็อคที่
ส่วนในแบบฟอร์มอื่นๆตารางที่เกี่ยวข้องนั้นจะเปลี่ยนไปตามความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ เช่น ระบบขาย,ระบบสต็อค แล้วแต่การเก็บข้อมูลต่างๆค่ะ
หมายเลข 2 ในกรอบสีน้ำเงิน คือ ตัวเลือกต่างๆที่เราสามารถเข้าไปปรับค่าต่างๆของแต่ละฟิวล์ได้ จะมีทั้งหมด 3 แถบ ประกอบไปด้วย
1.      ค่าเฉพาะตัว คือ การกำหนดค่าเฉพาะตัวให้แต่ละฟิวล์ เช่น ขนาดของตัวอักษร,สีตัวอักษรฯ
2.      ค่าเริ่มต้น คือ ค่าเริ่มต้นของแบบฟอร์มซึ่งการปรับเปลี่ยนในส่วนนี้จะมีผลต่อฟอร์มทั้งหมด เช่น การตั้งค่าหน้ากระดาษ,การกำหนดคุณลักษณะต่างๆให้กับฟอร์ม
3.      การคำนวน คือ เราสามารถนำคำสั่งพิเศษอื่นๆมาใส่ตรงนี้เพื่อต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างจากค่าเดิมๆที่โปรแกรมให้มา(ในส่วนนี้เอาไว้กัสจะหาตัวอย่างมาให้ชมนะคะ).
หมายเลข 3 ในกรอบสีเขียว คือ ส่วนที่เป็นฟอร์มหรือรายงานที่จะแสดงผลออกมาให้เราดูหรือพิมพ์นั่นเอง ก็จะปรับกอบไปด้วยฟิวล์ต่างๆที่เราต้องการให้แสดงผลออกทางแบบฟอร์มหรือรายงานนะคะ ส่วนค่าจะแสดงออกมาเปแนอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอะไรมาวางตรงไหนคร่า
หมายเลข 4 ในกรอบสีน้ำตาล คือ ส่วนที่เป็นส่วนควบคุมตัวรายงานว่าฟิวล์ที่เราวางไว้นั้นมันจะแสดงผลออกมาใรส่วนไหนในฟอร์มนั้นๆ เช่น
               HE  คือ ส่วนหัวของฟอร์มหรือรายงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก ชื่อบริษัท,โลโก้,ชื่อฟอร์ม ฯ
               BO คือ ส่วน Body หรือรายละเอียดของบิลใบนั้นๆเช่น ในใบสั่งซื้อใบนี้มีรายการสินค้าอะไรบ้าง
               SU คือ ส่วนท้ายของฟอร์ม ก็เช่น จำนวนเงินรวม,ภาษี,หมายเหตุ ฯ
หมายเลข 5 ในกรอบสีเหลือง คือ ตัวช่วยต่างๆ ที่จะใช้ในการปรับเปลี่ยนแบบฟอร์ม เช่น ปุ่มบันทึก,ปุ่มปริ้น,ปุ่มอันดู เป็นต้น

                              ดังนั้นเมื่อเราลองแก้ไขอะไรๆ ดูแล้วเราลองมา Preview ดูหน้าตาที่เสร็จแล้วดูกันคร่า ขั้นตอนการพรีวิวก็ตามภาพด้านล่างนะคะ



   ตามภาพคลิกที่รูปเครื่องปริ้น สีเหลืองค่ะ



จะมีกล่องโต้ตอบถามว่าจะเลือกแบบฟอร์มตัวไหน  กัสเลือก ฟอร์มที่ 2 ฟอร์มแบบใหม่(ปรับฟอนต์ได้) กดตกลง ค่ะ





จะมีกล่องโต้ตอบถามว่าจะเลือกทำอะไรตอนนี้ อันนี้กัสขอดู พรีวิวก่อนค่ะ กดตกลง

 เบื้องต้นจะได้ฟอร์มแบบนี้ล่ะค่ะ ส่วนใครจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอีกยังไงก็ลองต่อยอดได้เลยจ้า ส่วนใครที่มีทริปหรือเทคนิคดีๆก็อย่าลืมมาแบ่งปันให้กัสบ้างนะคะ ต้องบอกก่อนนะคะว่ากัสก็ไม่ได้เก่งอะไรเลยอาศัยลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

เริ่มสนุกกันแล้วใช่มั้ยคะ......งั้นก็สู้ๆ กันทุกคนคร่า
Read »

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมบัญชี : Express เริ่มต้นแก้ไขแบบฟอร์มแบบใหม่กันค่ะ

      เช้านี้อากาศดีค่ะฝนตกเมื่อคืน ทำให้โทรศัพท์ที่ออฟฟิตเป็นอัมพาตเลย ระหว่างที่รอช่างโทรศัพท์มาซ่อม กัส ก็เลยจะขออัพเดทเรื่องฟอร์มใหม่ของโปรแกรมบัญชี Express ไปพลางๆก่อนละกันนะคะ
                  !!! Get  strated !!!!
ก่อนอื่นเลย  ข้อที่ 1.เราจะต้องสร้างแบบทดสอบใหม่ขึ้นมาก่อนนะคะ แต่ตอนสร้างนั้นต้องระวังนิดนึงนะคะระวังไปโดนฟอร์มเก่าที่ใช้งานอยู่เป็นประจำๆซะล่ะ (งานช้างจะมาเยือนเอา) ขั้นตอนการสร้างก็ตามรูปเลยนะคะ


    ในทีนี้ของกัสเลือกเป็นแบบฟอร์มที่ 2นะคะ ที่สำคัญอีกอย่างคือเลือก ฟอร์มแบบใหม่(ปรับฟ้อนต์ได้) แล้วกดตกลงค่ะ



ตามรูปข้างบนเป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างแบบทดสอบก่อนการแก้ไขค่ะ

ข้อที่ 2 คือการเริ่มแก้ไขแบบทดสอบค่ะ ขั้นตอนตามรูปข้างล่างนี้นะคะ
เลือกแก้ไขแบบทดสอบนะคะ และที่สำคัญคือ ต้องเลือกฟอร์มที่เราสร้างแบบทดสอบเอาไว้นะคะของกัสจะเป็นฟอร์ม2 ฟอร์มแบบใหม่(ปรับฟ้อนต์ได้) 
แอ่น แอ่น แอ้นนนน....มาแล้วจ้สพระเอกของพวกเรา หน้าจอการแก้ไขแบบทดสอบ ฟอร์มแบบใหม่(ปรับฟ้อนต์ได้) 


ดังภาพด้านบนนี้จะเป็นภาพรวมๆ ของหน้าจอที่เราจะต้องใช้ในการดำเนินการแก้ไข หรือเคลื่อนย้ายวัตภุต่างๆที่อยู่ในฟอร์ม ส่วนรายละเอียด กัส จะเอามาแถลงในโพสต์ต่อๆไปนะคะโพสต์นี้ให้ดูคร่าวๆไปก่อน

            ส่วนที่เราจะสามารถแก้ไขได้หรือเคลื่อนย้ายได้จริงๆนั้นจะมีอยู่ประมาณนี้นะคะ

แง้.... หมดเวลาช่างมาซ่อมโทรศัพท์ เด๋ยวยังไงมาต่อโพสต์หน้านะคะ








Read »

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เกริ่นนำ โปรแกรมบัญชี Express Newform For windows

     สำหรับ NewForm ของโปรแกรมบัญชีExpress นั้นได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาจากตัวReport for DOS 
ซึ่งหน้าตาโปรแกรมตอนแก้ไขก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการ เช่น การใส่โลโก้ในฟอร์มต่างๆ,การปรับฟ้อนต์ รายงานหรือ ฟอร์ม,การจัดหน้า ตำแหน่งของ ฟิลด์ต่างๆทั้งฟอร์มและรายงาน ให้ได้ตรงตามความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งานมากขึ้น ดังนั้น ออกัสจะพยายามเอาประสบการณ์ที่ประสบพบเจอในการทำฟอร์มและรายงานต่างๆนั้นมาแชร์ให้เพื่อนๆที่ร่วมชะตากรรม (เวอร์ไปมั้ย ^U^ ) ในการใช้งานโปรแกรบัญชี Express ด้วยกันนะคะ สู้ๆ ทุกคนนะคะ 
และนี่ก็คือ ตัวอย่างหน้าตาของ New Form ของ Express ค่ะ


Read »

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การรวมรายการของรหัสลูกค้า 2 รหัสที่ชื่อซ้ำกัน ให้กลายเป็นรหัสเดียว Express


โปรแกรมบัญชีExpress กับการรวมรหัสลูกค้าที่ซ้ำกัน

กรณีที่บริษัทอาจจะมีการตั้งรหัสลูกค้าซ้ำซ้อนกัน เช่น ลูกค้า 1 ราย แต่อาจจะมีการตั้งรหัสไว้มากกว่า 1 รหัส และมีการนำรหัสทั้งหมดไปเดินรายการแล้ว พอตรวจสอบเจอความซ้ำซ้อนดังกล่าว ก็อยากจะยุบรหัสทั้งหมดให้เหลือแค่รหัสเดียว และเอารายการที่เคยทำไว้ของทุกรหัสมารวมกันด้วย
โปรแกรมบัญชีExpress มีวิธีการรวมรหัสมาแนะนำให้  โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องลบข้อมูลทิ้ง หรือ คีย์ข้อมูลเดิมเข้าไปให้ 
ตัวอย่าง  มีลูกค้าชื่อว่า บริษัท สบายใจ จำกัด  ทางบริษัทได้ทำการตั้งรหัสลูกค้าไว้ 2 รหัส คือ สบายใจ และ ส001พอตรวจสอบเจอข้อผิดพลาดจึงต้องการยุบให้เหลือแค่รหัสเดียว คือ สบายใจ มาดูวิธีการกันนะคับ   

ขั้นตอนแรก   ไปที่เมนูขาย => ข้อ 6 รายละเอียดลูกค้า  ให้ค้นหารหัสลูกค้าที่ต้องการจะเก็บไว้  คือ  สบายใจ ให้จดรหัสและยอดต้นปี (ด้านล่าง) เก็บไว้ก่อน  จากนั้นทำการลบรหัสนี้ทิ้ง
ก่อนรวมรหัส ต้องจดรายละเอียดเช่น รหัสและยอดยกมาเอาไว้ก่อน

ขั้นตอนที่สอง  ให้ค้นหารหัส ที่ต้องการจะยุบคือ  ส001  แล้วให้คลิกที่คำสั่งเปลี่ยนรหัส  (คำสั่งสุดท้ายของ Tool bar)   จะปรากฎหน้าจอให้ใส่รหัสที่ต้องการเปลี่ยน  ก็ให้ป้อนรหัส  สบายใจ  เข้าไป จากนั้นคลิกตกลง  
คลิกปุ่ม Old->New เพื่อเปลี่ยนรหัส
 
เปลี่ยนรหัสที่ผิดให้เป็นรหัสที่ถูกต้อง ซึ่งเราได้ลบทิ้งไปก่อนหน้านี้ 
โปรแกรมจะทำการเปลี่ยนรหัสลูกค้าจาก  ส001  ในหน้าเอกสารต่าง ๆ ที่อ้างถึงรหัสดังกล่าวให้เป็น สบายใจ  ทั้งหมด   จากนั้นให้ทำการคำนวณยอดลูกหนี้ใหม่ที่เมนูขาย => ข้อ B คำนวณยอดลูกหนี้ให้  เมื่อคำนวณเสร็จแล้วก็ให้ไปทำการตรวจสอบยอดต้นปีที่หน้ารายละเอียดลูกค้าอีก ครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้แก้ไขยอดแล้วกลับไปคำนวณยอดลูกหนี้อีกครั้งหนึ่ง เท่านี้รหัสลูกหนี้ของเราก็จะเหลือแค่ สบายใจ ตามที่เราต้องการแล้วค่ะ ลองทำดูนะคะ สะดวกสบายนต่อการใช้งานจริงๆค่ะ
Read »

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมบัญชี:Express อัพเดทต้วเอง

หายไปนานนะคะ  กัสเองกำลังมึนงง กับตัว  New form ของโปรแกรมบัญชี Express งมๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ได้ความรู้ใหม่เพรียบเลยยยคร่าาาาว่างๆจะมาแชร์เพื่อนคร้าาาา
Read »

สอนการแก้ไขแบบฟอร์ม (แบบใหม่ ใส่รูป ใส่โลโก้ได้) ของโปรแกรม Express ตอนท...

Read »

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โปรมแกรมบัญชี:Express – การกำหนดค่าเริ่มต้น3 (ต่อ)

ระบบสินค้าคงเหลือ

กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า

หลังจากการกำหนดรายละเอียดสินค้าแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะเชื่อมระหว่างระบบบัญชีกับระบบสินค้าคงคลัง ก็คือ การกำหนดบัญชีสินค้านะคะ
                เพื่อที่เราจามารถแยกเลขที่บัญชีเพื่อที่จะนำไปบันทึกในสมุดรายวันต่างๆ สำหรับสินค้าแต่ละกลุ่มได้ เริ่มกันเลยนะคะ



-           ไปที่เมนู  เริ่มระบบ>กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ>ระบบสินค้าคงเหลือ>กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า



การกำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า จะถูกนำไปใช้กำหนดให้กับรหัสสิน้าแต่ละตัวในหน้า รายละเอียดสินค้า
จะขออธิบายหลักการทำงานของแต่ละหัวข้อดังนี้ค่ะ
- รหัสกลุ่มบัญชี  คือ กำหนดรหัสให้กับกลุ่มบัญชีที่จะกำหนดต่อไปค่ะ ใช้เป็นอักษรหรือตัวเลขไม่เกิน 4 หลักค่ะ
คำอธิบายไทยและอังกฤษ คือ คำอธิบายส้นเพื่อให้ทราบว่าสำหรับกลุ่มสิค้าชนิดใด
-  วิธีคิดต้นทุน  คือ 1. แบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) 2. วิธีถัวเฉลี่ย (Average)
- บัญชีสินค้า  คือ กำหนดเลขที่บัญชีที่เป็นสินค้าคงเหลือ
- สำหรับบัญชีที่เหลือ คือ สำหรับรายการสินค้าที่ไม่ได้กำหนดบัญชีสินค้า โปรแกรมexpress จะไปดึงเลขที่บัญชีที่เมนู กำหนดบัญชีเพื่อลงรายวัน มาบันทึกแทน
 ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เมนูแล้วนะคะ  ทีนี้ต้องบอกว่าเพื่อนๆนักบัญชีทุกคนสู้ๆคร้าาาาาาา

Read »

โปรแกรมบัญชี:Express – การกำหนดค่าเริ่มต้น2 (ต่อ)


Express – การกำหนดค่าเริ่มต้นโปรแกรม
ในบทความนี้จะต่อจากบทความก่อนหน้าเรื่องของการกำหนดค่าเริ่มต้นโปรแกรม Express เรื่องนี้คือ

ระบบสินค้าคงเหลือ
รายละเอียดทั่วไป


-           รูปแบบของรหัสสินค้า  คือ คือการกำหนดรูปแบบของสินค้าส่วนจะใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ที่ผู้วางระบบกำหนดไว้เพื่อสื่อความหมายต่างๆของตัวสินค้าเอง โดยการกำหนดรูปแบบของรหัสสินค้านั้นมี 3 แบบดังนี้
    9    หมายถึง ป้อนได้เฉพาะตัวเลข 0 – 9 เท่านั้น
    X    หมายถึง ป้อนได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรและอักขระพิเศษต่างๆ
    !     หมายถึง  ป้อนได้เหมือนรูปแบบ X แต่จะพิเศษกว่าคือตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ป้อนจะแปลงเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ
-           ค้นหาสินค้า   คือ กำหนดวิธีค้นหาสินค้า ซึ่งสามารถกำหนดได้ 2 ทางคือ 1. ค้นหาโดยใช้รหัส  2. ค้นหาโดยใช้ชื่อสินค้า
-           วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า  คือ จะต้องไปกำหนดที่เมนู “การกำหนดบัญชีสินค้า”  ซึ่งเคยแนะนำไปแล้วตามบทความก่อนหน้านี้นะคะ
-           บันทึกบัญชีสินค้าแบบ  สามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ
1.     Y   คือ  Perpetual เป็นการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
2.     N   คือ Periodic  เป็นการบันทึกบัญชีสินค้าวันสิ้นงวด
ซึ่งรูปแบบการบันทึกบัญชี 2 แบบนี้ก็อธิบายไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้นะคะ (แอบขี้เกียจ)
-           ทศนิยมราคาสินค้า สามารถกำหนดสูงสุด 4 ตำแหน่งค่ะ
-           ทศนิยมจำนวนสินค้า เช่นเดียวกันกับทศนิยมราคาสินค้าเลยค่ะ
-           ทศนิยมตัวคูณเป็นหน่อยย่อย  คือ ตัวคูณที่ทำให้หน่วยสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นแปลงมาเป็นหน่วยย่อย เช่น หากเรามีการจำหน่ายสินค้าที่เป็นปากกา ขายทั้งเป็นโหลและเป็นด้าม ตัวคูณหน่วยย่อยในโปรแกรม Express คือ 12 ซึ่งเวลาที่คุณขายปากกา 1 โหล โปรแกรมจะเข้าไปตัดสต็อกเป็น 12 ด้าม ให้เลย
-           ปรับหน่วยนับรับ-จ่ายได้ คือ เมื่อเราเข้าไปบันทึกรายการที่ เมนู  สินค้า >>1ลงประจำวันสินค้า เมื่อมีการทำรายการกับสินค้า โปรแกรมจะยอมให้เปลี่ยนแปลงหน่วยนับ ขณะที่รับ-จ่ายสินค้านั้นๆได้เลย
-           ปรับตัวคูณได้   คือ  การกำหนดให้ปรับตัวคูณหน่วยย่อยหน้าที่เราเข้าไปทำรายการนั้นๆ
-           ยอดคงเหลือติดลบได้ คือ การขายหรือเบิกมากกว่าจำนวนคงเหลือในสต็อกได้
-           ตัดสินค้าติดลบ ขออนุมัติระดับ คือ การอนุญาตในการตัดสินค้าจำนวนที่มากกว่าสินค้าในสต็อก
-           ยอมให้เก็บสินค้าได้ทุกคลัง คือ สามารถรับสินค้าเข้าได้ทุกคลังแม้เราไม่ได้เข้าไปกำหนดคลังสินค้าไว้ก่อนแล้ว
-           ตัดต้นทุนสินค้าแยกตามคลัง คือโปรแกรมExpress จะคำนวณต้นทุนสินค้าจากคลังที่ตัดจ่ายเท่านั้น
-           รหัสคลังสินค้าหลัก คือ คลังสินค้าหลักที่เรากำหนดไว้เพื่อใช้ในการรับหรือจ่ายสินค้า
-           แสดงหน่วยใหญ่หน่วยย่อยในรายงานสินค้าคงเหลือ คือ  เมื่อเราเรียกรายงานสินค้าคงเหลือโปรแกรมจะแสดงทั้งหน่วยใหญ่หน่วยย่อยรายงานเช่น ปากกาก็แสดงทั้งจำนวนที่เป็น โหล และเป็นด้าม
-           แก้ไขราคาซื้อ-ขายล่าสุดได้ คือ หากเรากำหนดข้อนี้ไว้แล้วนั้น เราจะสามารถเข้าไปแก้ไขราคาซื้อ-ขายล่าสุดได้จากเมนู รายละเอียดสินค้า
-           ขาย/เบิกกว่าจุดสั่งซื้อ จะให้เตือนทันทีหรือไม่? คือ การกำหนดให้โปรแกรมเตือนทันทีที่ขายหรือเบิกสินค้าจนต่ำกว่าจุดสั่งซื้อที่กำหนดไว้
-           กำหนดช่วงวิเคราะห์อายุสินค้า คือ การวิเคราะห์ระยะเวลาสินค้าแต่ละตัวว่ามีมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเมื่อใด
-           ชื่อฟิลด์เพิ่มเติม คือ สามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้สินค้าแต่ละตัวได้
-           เปลี่ยนชื่อสินค้าในเอกสารประจำวัน คือ สามารถเปลี่ยนแปลงรายลเอียดชื่อสินค้าจากที่กำหนดไว้ได้ในหน้าจอที่เราเข้าไปทำรายการต่างๆ

จากบทความนี้เราก็จะได้รายละเอียดหรือคำอธิบายการตั้งค่าเริ่มต้นของหน้าสินค้าแล้วนะคะ เสร็จไปอีกหนึ่งขั้นตอนของการลุยทำบัญชีต่อไปแล้วคร่า

Read »

Copyright © 2015 โปรแกรม Express

Designed by | Distributed By Gooyaabi Templates