วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โปรมแกรมบัญชี:Express – การกำหนดค่าเริ่มต้น3 (ต่อ)

ระบบสินค้าคงเหลือ

กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า

หลังจากการกำหนดรายละเอียดสินค้าแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะเชื่อมระหว่างระบบบัญชีกับระบบสินค้าคงคลัง ก็คือ การกำหนดบัญชีสินค้านะคะ
                เพื่อที่เราจามารถแยกเลขที่บัญชีเพื่อที่จะนำไปบันทึกในสมุดรายวันต่างๆ สำหรับสินค้าแต่ละกลุ่มได้ เริ่มกันเลยนะคะ



-           ไปที่เมนู  เริ่มระบบ>กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ>ระบบสินค้าคงเหลือ>กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า



การกำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า จะถูกนำไปใช้กำหนดให้กับรหัสสิน้าแต่ละตัวในหน้า รายละเอียดสินค้า
จะขออธิบายหลักการทำงานของแต่ละหัวข้อดังนี้ค่ะ
- รหัสกลุ่มบัญชี  คือ กำหนดรหัสให้กับกลุ่มบัญชีที่จะกำหนดต่อไปค่ะ ใช้เป็นอักษรหรือตัวเลขไม่เกิน 4 หลักค่ะ
คำอธิบายไทยและอังกฤษ คือ คำอธิบายส้นเพื่อให้ทราบว่าสำหรับกลุ่มสิค้าชนิดใด
-  วิธีคิดต้นทุน  คือ 1. แบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) 2. วิธีถัวเฉลี่ย (Average)
- บัญชีสินค้า  คือ กำหนดเลขที่บัญชีที่เป็นสินค้าคงเหลือ
- สำหรับบัญชีที่เหลือ คือ สำหรับรายการสินค้าที่ไม่ได้กำหนดบัญชีสินค้า โปรแกรมexpress จะไปดึงเลขที่บัญชีที่เมนู กำหนดบัญชีเพื่อลงรายวัน มาบันทึกแทน
 ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เมนูแล้วนะคะ  ทีนี้ต้องบอกว่าเพื่อนๆนักบัญชีทุกคนสู้ๆคร้าาาาาาา

Read »

โปรแกรมบัญชี:Express – การกำหนดค่าเริ่มต้น2 (ต่อ)


Express – การกำหนดค่าเริ่มต้นโปรแกรม
ในบทความนี้จะต่อจากบทความก่อนหน้าเรื่องของการกำหนดค่าเริ่มต้นโปรแกรม Express เรื่องนี้คือ

ระบบสินค้าคงเหลือ
รายละเอียดทั่วไป


-           รูปแบบของรหัสสินค้า  คือ คือการกำหนดรูปแบบของสินค้าส่วนจะใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ที่ผู้วางระบบกำหนดไว้เพื่อสื่อความหมายต่างๆของตัวสินค้าเอง โดยการกำหนดรูปแบบของรหัสสินค้านั้นมี 3 แบบดังนี้
    9    หมายถึง ป้อนได้เฉพาะตัวเลข 0 – 9 เท่านั้น
    X    หมายถึง ป้อนได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรและอักขระพิเศษต่างๆ
    !     หมายถึง  ป้อนได้เหมือนรูปแบบ X แต่จะพิเศษกว่าคือตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ป้อนจะแปลงเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ
-           ค้นหาสินค้า   คือ กำหนดวิธีค้นหาสินค้า ซึ่งสามารถกำหนดได้ 2 ทางคือ 1. ค้นหาโดยใช้รหัส  2. ค้นหาโดยใช้ชื่อสินค้า
-           วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า  คือ จะต้องไปกำหนดที่เมนู “การกำหนดบัญชีสินค้า”  ซึ่งเคยแนะนำไปแล้วตามบทความก่อนหน้านี้นะคะ
-           บันทึกบัญชีสินค้าแบบ  สามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ
1.     Y   คือ  Perpetual เป็นการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
2.     N   คือ Periodic  เป็นการบันทึกบัญชีสินค้าวันสิ้นงวด
ซึ่งรูปแบบการบันทึกบัญชี 2 แบบนี้ก็อธิบายไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้นะคะ (แอบขี้เกียจ)
-           ทศนิยมราคาสินค้า สามารถกำหนดสูงสุด 4 ตำแหน่งค่ะ
-           ทศนิยมจำนวนสินค้า เช่นเดียวกันกับทศนิยมราคาสินค้าเลยค่ะ
-           ทศนิยมตัวคูณเป็นหน่อยย่อย  คือ ตัวคูณที่ทำให้หน่วยสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นแปลงมาเป็นหน่วยย่อย เช่น หากเรามีการจำหน่ายสินค้าที่เป็นปากกา ขายทั้งเป็นโหลและเป็นด้าม ตัวคูณหน่วยย่อยในโปรแกรม Express คือ 12 ซึ่งเวลาที่คุณขายปากกา 1 โหล โปรแกรมจะเข้าไปตัดสต็อกเป็น 12 ด้าม ให้เลย
-           ปรับหน่วยนับรับ-จ่ายได้ คือ เมื่อเราเข้าไปบันทึกรายการที่ เมนู  สินค้า >>1ลงประจำวันสินค้า เมื่อมีการทำรายการกับสินค้า โปรแกรมจะยอมให้เปลี่ยนแปลงหน่วยนับ ขณะที่รับ-จ่ายสินค้านั้นๆได้เลย
-           ปรับตัวคูณได้   คือ  การกำหนดให้ปรับตัวคูณหน่วยย่อยหน้าที่เราเข้าไปทำรายการนั้นๆ
-           ยอดคงเหลือติดลบได้ คือ การขายหรือเบิกมากกว่าจำนวนคงเหลือในสต็อกได้
-           ตัดสินค้าติดลบ ขออนุมัติระดับ คือ การอนุญาตในการตัดสินค้าจำนวนที่มากกว่าสินค้าในสต็อก
-           ยอมให้เก็บสินค้าได้ทุกคลัง คือ สามารถรับสินค้าเข้าได้ทุกคลังแม้เราไม่ได้เข้าไปกำหนดคลังสินค้าไว้ก่อนแล้ว
-           ตัดต้นทุนสินค้าแยกตามคลัง คือโปรแกรมExpress จะคำนวณต้นทุนสินค้าจากคลังที่ตัดจ่ายเท่านั้น
-           รหัสคลังสินค้าหลัก คือ คลังสินค้าหลักที่เรากำหนดไว้เพื่อใช้ในการรับหรือจ่ายสินค้า
-           แสดงหน่วยใหญ่หน่วยย่อยในรายงานสินค้าคงเหลือ คือ  เมื่อเราเรียกรายงานสินค้าคงเหลือโปรแกรมจะแสดงทั้งหน่วยใหญ่หน่วยย่อยรายงานเช่น ปากกาก็แสดงทั้งจำนวนที่เป็น โหล และเป็นด้าม
-           แก้ไขราคาซื้อ-ขายล่าสุดได้ คือ หากเรากำหนดข้อนี้ไว้แล้วนั้น เราจะสามารถเข้าไปแก้ไขราคาซื้อ-ขายล่าสุดได้จากเมนู รายละเอียดสินค้า
-           ขาย/เบิกกว่าจุดสั่งซื้อ จะให้เตือนทันทีหรือไม่? คือ การกำหนดให้โปรแกรมเตือนทันทีที่ขายหรือเบิกสินค้าจนต่ำกว่าจุดสั่งซื้อที่กำหนดไว้
-           กำหนดช่วงวิเคราะห์อายุสินค้า คือ การวิเคราะห์ระยะเวลาสินค้าแต่ละตัวว่ามีมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเมื่อใด
-           ชื่อฟิลด์เพิ่มเติม คือ สามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้สินค้าแต่ละตัวได้
-           เปลี่ยนชื่อสินค้าในเอกสารประจำวัน คือ สามารถเปลี่ยนแปลงรายลเอียดชื่อสินค้าจากที่กำหนดไว้ได้ในหน้าจอที่เราเข้าไปทำรายการต่างๆ

จากบทความนี้เราก็จะได้รายละเอียดหรือคำอธิบายการตั้งค่าเริ่มต้นของหน้าสินค้าแล้วนะคะ เสร็จไปอีกหนึ่งขั้นตอนของการลุยทำบัญชีต่อไปแล้วคร่า

Read »

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Express - รายงานภาษีตามกฏหมายใหม่


Express - รายงานภาษีตามกฏหมายใหม่

รูปแบบรายงานภาษีตามประกาศใหม่ของสรรพากร ฉบับ 194-197 เริ่มใช้ ปี 2558
ซึ่งทางโปรแกรมบัญชี Express ก้ได้มีการปล่อยให้ดวาน์โหลดมาอัพเดทใหม่แล้วนะคะ หน้าตารายงานแบบใหม่นั้นจะเป็นไปตามดังรูปข้างล่างนี้เลยจ้าาาา.....


ใครที่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทโปรแกรมบัญชีExpress ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ link ด้านล่างนี้เลย http://www.esg.co.th/esg/index.php?fi=no&page=update_patch&lev=1&lang=th
ส่วนวิธีการดาวน์โหลดหรือ ติดตั้งนั้นมีรายละเอียดที่เว็บไซต์ให้ศึกษาได้เลยค่ะ

Read »

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โปรมแกรมบัญชี:Express-การกำหนดค่าเริ่มต้น

Express – การกำหนดค่าเริ่มต้น

 1.       กำหนดรายละเอียดกิจการ

หน้านี้จะเป็นการบันทึกข้อมูลสำคัญของบริษัท ได้แก่  ชื่อบริษัท,ที่อยู่,ชื่อภาษาอังกฤษ,ที่อยู่ภาษาอังกฤษ,หมายเลขโทรศัพท์,ประเภทของกิจการ,เลขประจำตัวผู้เสียภาษี,เลขที่ทะเบียนการค้า

2.  เรื่องทั่วไป
            -       ระบบปีที่ใช้ คือ ปีที่เราในการบันทึก บางบริษัท อาจจะใช้เป็นปี คริสต์ศักราช ก็ได้
-           อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ อัตราภาษีที่เรากำหนดให้กับการเปิดบิลขายของบริษัท
-           ประเภทราคาขาย คือ การกำหนดราคาขายนั้นเกี่ยวโยงกับ ภาษีขาย โปรแกรม Express จะให้เลือกกำหนดว่าจะกำหนดราคาแบบใด เช่น
1 = ราคารวมภาษี  คือ ในราคาขายมีภาษีรวมมาแล้ว
2 = ราคาไม่รวมภาษี คือ ราคานี้นำไปคิดภาษีเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้แล้ว
-           เฉลี่ยภาษีซื้อหรือไม่  คือ หากกิจการของเรามีประกอบธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ด้วยกันนั้น เรามีความจำเป็นจะต้องกำหนดค่าในช่องนี้ให้เป็น  A คือการถามอัตราภาษีก่อนที่จะบันทึกเอกสาร ดังรูปตัวอย่างด้านล่างค่ะ
-           รับรองเอกสาร ต้องอนุมัติระบบใด  คือ การกำหนดสิทธิ์การรับรองเอกสารต่างๆที่มีความสำคัญ ที่ควรจะได้การอนุมัติโดยผุ้ที่มีอำนาจ ซึ่งการรับรองเอกสารนั้นเพื่อป้องกันการแก้ไขเอกสารสำคัญโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ ซึ่ง การกำหนดระดับผู้ใช้งานนั้นจะมีการกำหนดแบบละเอียดในหัวข้อ กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย ค่ะ

-           วิธีการพิมพ์หรือการรับรองเอกสาร คือ เราสามารถเลือกระบวนการในการรับรองเอกสารหรือพิมพ์เอกสารได้ก่อนหรือหลังให้กำหนดหัวข้อนี้ตามรายละเอียดได้เลยค่ะ
                          
-           พิมพ์เอกสารซ้ำต้องอนุมัติระดับ  คือ การกำหนดระดับของพนักงานที่มีอำนาจในการพิมพ์เอกสารซ้ำ เพื่อป้องกันการทุจริต

-           แยกประเภท VAT. ที่รายการสินค้า คือ ถ้าหากกิจการมีการขายสินค้าที่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดในข้อนี้ให้เป็น ‘Y’ เพื่อให้เราสามารถขายสินค้าที่มีภาษีและไม่มีภาษีในบิลใบเดียวกันได้

          ในบทความนี้จะแนะนำการกำหนดค่าเริ่มต้นในโปรแกรม Express ไปก่อน 2 หัวข้อนะคะ ส่วนที่เหลือนั้นจะมาแนะนำต่อในบทความต่อๆไปค่ะ




Read »

Copyright © 2015 โปรแกรม Express

Designed by | Distributed By Gooyaabi Templates